การจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อ…

ต่อจากบทความที่แล้วที่ได้กล่าวถึงชนิดของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาต่อกันในเรื่องใบกำกับภาษีอีกประเภทหนึ่ง ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ นั้นคือ “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”

ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืออะไร?

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือเอกสารสำคัญในอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับกิจการที่เป็น “กิจการค้าปลีก” ที่เป็นการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก

ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อคือใคร?

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบก ากับภาษีอย่างย่อไม่ได้ ถ้าจะแยกเป็นลักษณะของกิจการให้เข้าใจง่ายๆคือ

  • กิจการที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีลักษณะขายปลีก โดยเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงเพื่อนำไปใช้เองโดยไม่ได้นำไปขายต่ออีกทอดนึง ยกตัวอย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าแผงลอย ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • กิจการที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น

กิจการใดเข้าลักษณะข้างต้นต้องจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป พร้อมทั้งสำเนา
ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง ที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  • ในกรณีที่ต้องการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ผู้ประกอบการต้องทำการยื่นคำขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • กรณีกิจการมีหลายสาขา สามารถยื่นอนุมัติเป็นรายสาขาได้ ผ่านสรรพากรพื้นที่ ที่สำนักงานใหญ่ของกิจการตั้งอยู่

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ

รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ข้อกำหนดของสรรพากร กำหนดรายการของใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องประกอบไปด้วยรายการดังนี้

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด (ต้องระบุว่า “ใบกำกับภาษี อย่างย่อ”)
  2. ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับ และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบก ากับภาษี
  7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ข้อแตกต่างระหว่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ กับ ใบกำกับภาษีเต็มรูป

ใบกำกับภาษีอย่างย่อใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่จำเป็นต้องแสดงชื่อ – สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าและบริการใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ต้องแสดงชื่อ – สกุล ที่อยู่อาศัย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอย่างชัดเจน
ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าสามารถแสดงเป็นรหัสสินค้าได้ต้องแสดงชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน
มีข้อความแสดงอย่างชัดเจนว่าราคาสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Included) ไว้แล้วต้องแยกจำนวนราคาภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้

จะเห็นได้ว่าใบกำกับภาษีอย่างย่อนั้น กฎหมายไม่ได้เคร่งครัดมากเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ นอกจากนี้สรรพากรยังยืดหยุ่นให้ในการออกใบกำกับภาษีในกรณีต่างๆดังต่อไปนี้

  • ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี หากขายสินค้าหรือบริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท กรณีขายสินค้าหรือบริการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีเดือนใดถึง 300,000 บาท หรือขายสินค้าในลักษณะรถเข็น แผงลอย รวมถึงการให้บริการแสดง กีฬา การประกวดที่จัดขึ้นแล้วเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เข้าร่วม เป็นต้น โดยให้รวบรวมมูลค่าของการขายหรือการให้บริการใน 1 วันเพื่อทำใบกำกับภาษีอย่างย่อ 1 ฉบับเพื่อลงรายงานภาษีขายได้เลย
  • สถานบริการน้ำมันที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ก็ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี (แต่ถ้าลูกค้าร้องขอ ผู้ประกอบการยังมีหน้าต้องออกให้)
  • ถ้าขายของให้ลูกค้ารายหนึ่งซ้ำๆ กันจำนวนหลายครั้งใน 1 วันสามารถรวบรวมแล้วออกเป็นใบกำกับภาษีรวมเป็นครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการได้
  • การลงรายงานภาษีขายสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือบริการก็ได้
  • สามารถขีด ฆ่า ขูด ลบ ตกแต่ง ต่อเติม หรือแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่ผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย

าก…บทความเกี่ยวกับใบกำกับภาษีที่ผ่านมาหวังว่าทุกท่านคงพอจะเข้าใจ และสามารถนำกฎเกณฑ์ รายละเอียดต่างๆ ไปใช้จัดทำใบกำกับภาษีทั้ง 2 รูปแบบได้อย่างถูกต้อง ข้อสำคัญก่อนที่จะออกใบกำกับภาษีอย่าลืมดูว่า ท่านมีสิทธิในการออกใบกำกับภาษีนั้นหรือไม่ และตรวจสอบรายละเอียด ความถูกต้องให้ครบถ้วนเสมอ รวมถึงออกให้ถูกจุดถูกเวลา เท่านี้ไม่ว่าต้องออกใบกำกับภาษีแบบไหนท่านก็จะไม่พลาดอย่างแน่นอน…

ที่มา รูปภาพ https://www.page365.net/all-articles/online-tax-invoice-abb

https://flowaccount.com/


https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf


https://www.pexels.com/