สตาร์ทอัพ กับการใช้ Cloud ให้ “คุ้มค่า”

ปัจจุบันการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย ให้นำระบบคลาวด์และเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น
โดยจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาแพลตฟอร์ม และบริการที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม สตาร์ทอัพต่างๆ โดยมีการมุ่งเน้นการดำเนินการไปสู่ความยั่งยืน แต่ผู้ประกอบการ SME หลายรายคงคิดหนักถ้าจะลงทุนระบบคลาวด์ (Cloud Computing) ถึงแม้จะเข้าใจว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้มากขึ้นก็ตาม เพราะคิดว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในการวางระบบนั้นมีราคาแพงจนอาจจะไม่คุ้มทุนสำหรับธุรกิจเล็กๆ

Digbijoy Shukla หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ AWS ASEAN ได้ให้ข้อมูลว่า ผู้ให้บริการคลาวด์ในปัจจุบันมีโซลูชันที่ช่วยลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าที่คิด และประโยชน์ที่ได้รับกลับมาก็นับว่า “คุ้มค่า” โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูล (DATA) คือตัวพลิกเกมธุรกิจ แถมยังช่วยบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้นอีกต่างหาก

ค่าบริการระบบ Cloud ถูกและคุ้มค่ากว่าการซื้อเซิร์ฟเวอร์

โดย Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ การใช้งานจะมีทั้งการประมวลผล จัดเก็บข้อมูลบนระบบออนไลน์ ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาติดตั้ง เพราะทุกอย่างสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้ในราคาที่ถูกกว่า และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ในระยะยาว ไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมบำรุงเซิร์ฟเวอร์

ระบบคลาวด์ในปัจจุบันมีแพ็คเกจที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ

ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ในปัจจุบันได้นำเสนอรูปแบบการกำหนดราคาที่หลากหลาย รวมถึงการกำหนดราคาแบบ Spot pricing ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ ใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้น

สามารถเปลี่ยนค่าใช้จ่ายแบบต้นทุนคงที่ให้เป็นค่าใช้จ่ายผันแปรและจ่ายเฉพาะเมื่อใช้งาน

ยกตัวอย่างในช่วงวิกฤต ธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญกับการหยุดชะงักไม่สามารถดำเนินงานได้ตามปกติ รายได้หด หรือไม่มีงบประมาณค่าใช้จ่ายที่มากเท่าเดิม การใช้บริการระบบคลาวด์จะช่วยให้สามารถจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนให้เหมาะสมกับงบประมาณและการคาดการณ์การใช้งาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายด้วยการจัดการทรัพยากรให้เพียงพอต่อการใช้ ระบบคลาวด์มักมีเครื่องมือออนไลน์ที่ตรวจสอบการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานและบริการ รวมถึงให้คำแนะนำโดยการบอกว่าทรัพยากรใดที่ไม่ได้ใช้ เป็นโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้นลง รวมถึงมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้บริการเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ของบริการที่กำหนด จึงทำให้คาดการณ์การใช้งานในเดือนถัดไปได้

สามารถวางแผนและจัดทำงบประมาณที่ยืดหยุ่น

ธุรกิจต้องวางแผนและคาดการณ์ต้นทุนระบบคลาวด์สำหรับโครงการต่างๆ ในองค์กร เช่น การใช้งานสำหรับฝ่ายบัญชี การตลาด ทำแอปพลิเคชัน และอื่นๆ ซึ่งระบบคลาวด์ทำให้ทีมสามารถจัดหาและหยุดใช้งานทรัพยากรได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องจัดหาและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นนี้ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการคาดการณ์แบบไดนามิก และจัดทำงประมาณแบบใหม่ เมื่อใดก็ตามที่มีการคาดการณ์ต้นทุนและการใช้งานเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ ผู้ประกอบการก็จะทราบข้อมูลได้ทันที

การกำหนดงบประมาณการใช้งาน คลาวด์ เพื่อความคุ้มค่า

  • กำหนดและตรวจสอบงบประมาณตามบริหารหรือโปรเจค
  • กำหนดการแจ้งเตือนเมื่อค่าใช้จ่ายหรือการใช้งานใกล้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
  • คาดการณ์ว่าธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณเมื่อใด
  • วางงบประมาณเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี
  • ตั้งค่างบประมาณให้เหมาะสมสำหรับแต่ละทีมในองค์กร

เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ ไม่ได้เลือกขนาดว่าเป็นองค์กรใหญ่หรือเล็ก แม้แต่ สตาร์ทอัพ ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นกัน การนำ Cloud เข้ามาใช้เป็นทางเลือกที่ดีของทุกๆ สตาร์ทอัพ แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือใช้คลาวด์
อย่างไรให้คุ้มค่า และเหมาะสมกับองค์กรของเราเอง…

ที่มา https://www.smethailandclub.com/tech/6925.html

และ Amazon Web Services (AWS)
https://aws.amazon.com/

รูปภาพ
https://www.pexels.com/