ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

“ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
จากบทความเกี่ยวกับใบกำกับภาษีก่อนหน้านั่น ทุกท่านคงได้รู้แล้วว่าใบกำกับภาษีสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 ประเภทที่เราใชกันคือ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป และใบกำกับภาษีอย่างย่อ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ “ใบกำกับภาษีเต็มรูป” ให้เข้าใจถึงรายละเอียดที่ต้องมีในการจัดทำ เพื่อที่จะสามารถดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เมื่อใดจึงต้องออกใบกำกับภาษี

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ขายมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทันทีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ (แม้ว่าผู้ซื้อจะยังไม่ได้จ่ายค่าสินค้าก็ตาม)
  • กรณีการให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับชำระค่าบริการ จะเห็นได้ว่าจุดนี้มีความแตกต่างจากการขายสินค้า เพราะเนื่องจากการให้บริการนั้นไม่สามารถจับต้องได้เหมือนสินค้าจึงใช้จุดของการจ่ายเงินเป็นเกณฑ์

ใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (เว้นแต่ ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบก ากับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ที่เห็นได้ชัดเจน เป็นข้อบังคับตามกฎหมายบังคับให้ต้องระบุเอาไว้ในเอกสารเพื่อให้เป็นใบกำกับภาษี
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ

4. เลขที่ใบกำกับภาษี

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าสินค้าหรือบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้งแยกแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ให้เห็นชัดเจน
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
เป็นรายการที่เป็นสาระสำคัญที่ประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ต้องมีในใบกำกับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เรียกง่ายว่าวันที่ได้มีการชำระสินค้าหรือบริการ หรือวันออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ(ถ้ามี)

8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…..” ของผู้ขาย

8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)

8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…” ของผู้ซื้อ

นอกจากองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว วิธีการจัดทำรายการของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องจัดทำตามที่กรมสรรพากรกำหนดวิธีการไว้ดังนี้

วิธีการจัดทำรายการของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

  1. รายการในใบกำกับภาษีให้ทำเป็นภาษาไทย หรือจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในฉบับเดียวกันก็ได้ ถ้าจะทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
  2. หน่วยเงินตราในใบกำกับภาษีต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าจะจัดทำเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
  3. ใบกำกับภาษีอาจออกรวมกันสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้
  4. ใบกำกับแบบเต็มรูป ต้องมีรายการครบถ้วน
  5. รายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการ ขีด ฆ่า ขูด ลบ โดยยางลบ หรือใช้ยาหมึก ตก แต่ง ต่อ เติม หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ข้อแนะนำการขายให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับลูกค้าที่อาจจะไม่อยากให้ข้อมูลเลขที่บัตรประชาชน กรณีนี้ ทางผู้ขายยังมีหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปเหมือนเดิม แต่สำหรับข้อมูลผู้ซื้อนั้นเพียงแค่ระบุชื่อและที่อยู่ก็เพียงพอ
ข้อสำคัญคือทุกครั้งต้องมีข้อมูล ชื่อและที่อยู่ หากมีไม่ครบถ้วนถือว่ามีโทษปรับ แนวทางการแก้ไขอาจจะกำหนดให้มีแบบฟอร์มเล็กๆ ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลให้เรา เพื่อที่จะได้ออกเอกสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

าถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่ามีเอกสารรายละเอียดมากมายจนรู้สึกว่าเป็นเรื่องวุ่นวายในการที่จะจัดทำให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ ของกรมสรรพากร แต่ในปัจจุบันมีวิธีที่ง่าย สะดวกสบาย ในการทำงานเหล่านี้อยู่ เช่น การใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปเข้ามาช่วยในการทำงานที่จะสามารถทำให้ท่านสร้างแบบฟอร์มไว้ได้ล่วงหน้า ทำให้สามารถออกใบกำกับภาษีได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ใส่รายละเอียดให้ครบถ้วน ตามข้อกำหนดในการจัดทำใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้นเอง…

ที่มา รูปภาพ https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf

https://www.pexels.com/th-th/search/tax/