HR Vs. อาการเบื่อ…วันจันทร์!!
มนุษย์เงินเดือนแทบจะ ร้อยเปอร์เซ็นต์ คงรู้สึกเบื่อวันจันทร์กันอย่างแน่นอน แต่จะมีกี่คนที่มาตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงเบื่อวันจันทร์กันล่ะ
จริงแล้วอาการเกลียดวันจันทร์นั้นมีอยู่จริง และเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่เฉพาะวัยทำงาน หรือมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น หากจะอ้างอิงถึงงานวิจัย ก็พอจะอ้างอิงการศึกษาจาก Lehigh University’s College of Business สหรัฐอเมริกา ในปี 2021 ที่ผ่านมานี้ ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Information System Research ว่า อาการเกลียดวันจันทร์ (Monday Blues) คือความรู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ กับการกลับมาทำงานหลังจากวันหยุดสุดสัปดาห์ มีผลการวิจัยพบว่า พวกพนักงานที่ต้องมาทำงานในเช้าวันจันทร์นั้นมีอัตราความดันโลหิตสูงขึ้น ในขณะที่คนว่างงานหรือพวกฟรีแลนซ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตในเช้าวันจันทร์ และมีบทความของ CNBC ได้กล่าวไว้ว่า พนักงานจะรู้สึกไม่มีความสุขมากที่สุดในเวลา 11:17 นาทีของเช้าวันจันทร์ กลับกันพวกเขาจะรู้สึกแฮปปี้ที่สุดในเวลา 15:47 ของวันศุกร์ ดังนั้นอาการเกลียดวันจันทร์จึงสามารถอธิบายได้ด้วยหลักจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ได้
นอกจากหลักการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาแล้ว เหตุผลที่คนเราเกลียดวันจันทร์มีอีกมากมาย หลายคนคงจะรู้สึก ยังพักไม่เพียงพอ ร่างกายยังต้องการพักอีก หรือไม่ก็ ไม่อยากเจอรถติด แย่งกันใช้บริการสาธารณะในการเดินทาง แต่หลักๆแล้ว วันจันทร์มีอะไรมากมายให้กังวลถึงหลังจากการพักผ่อนสบายๆในวันหยุด ก็ต้องมารับมือกับ ปัญหาในการทำงาน ต่อสู้กับลูกค้าหรือไม่ก็เพื่อนร่วมงาน และยิ่งต้องใช้ความอดทนมากกว่าวันอื่น ๆ เพราะเพิ่งผ่านวันหยุดมา ไหนจะต้องรับมือกับอาการ Emotional Shift หรือสภาวะเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์กันอีกด้วย
แล้ว HR จะรับมืออย่างไรกับการที่พนักงานเบื่อวันจันทร์
เอาจริงๆ HR ก็มนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน ก็คงรู้สึกไม่ต่างกันกับเพื่อนๆ ร่วมงานคนอื่นๆ แต่ถ้าพากันเบื่อจนไม่มาทำงานกันหมดคงเป็นเรื่องเสียหายกับองค์กรอย่างแน่นอน ฉะนั้น HR ที่ดีก็คงต้องหากลยุทธ์หรือนโยบายดีๆ ไว้ในการแก้ปัญหาการเบื่อหรือเกลียดวันจันทร์ของพนักงาน เพื่อไม่ให้ศักยภาพของการทำงานลดลง สร้างภาพรวมที่ดีในการกระตือรือร้นในการทำงานในวันจันทร์
ตัวอย่างเช่น
HR สามารถเสนอผู้บริหารให้กำหนดนโยบาย Work From Home วันจันทร์ ก็ได้ เหมือนเป็นการให้พนักงานเตรียมพร้อมสำหรับการมาทำงานทั้งออฟฟิศ คือไม่ได้ให้หยุดงาน แต่อนุโลมให้ทำงานที่บ้านได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก หรือหากไม่มีการ Work From Home ในวันจันทร์ ก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนเวลาเข้างานเป็น 10 โมง พนักงานได้นอนพักผ่อนเพิ่มอีกหน่อย และไม่ต้องเผชิญกับปัญหารถติด คนเยอะ ที่ยิ่งบั่นทอนพลังใจในการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก
หรือ HR อาจนำหลักการสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้น่ามาทำงานมาใช้ ก็เป็นอีกแนวทางในกาจะจูงใจพนักงานให้อยากมาทำงานในวันจันทร์ และอยากมาทำงานทุกๆวันได้
การสร้างบรรยากาศในการทำงาน ต้องผ่านการลงความเห็นชอบร่วมกันว่าจะพัฒนาให้สถานที่ทำงานของตนเองเป็น Ideal of Work เป็นความร่วมมือของคนทั้งองรตั้งแต่ เจ้าของบริษัท หัวหน้างาน HR และพนักงาน ยิ่งบรรยากาศเป็นไปตามที่พนักงานต้องการมากเพียงใด ก็ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้อยากมาทำงานทุกวันอย่างแน่นอน ไม่เกี่ยงแม้เป็นวันจันทร์
ทั้งนี้ทั้งนั้น HR และผู้บริหารสามารถร่วมกันคิดและปรับนโยบายให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรและพนักงานได้ตามที่แต่ละองค์กรเห็นว่าเหมาะสม เพราะพนักงานต้องมาก่อน หากพนักงานมีแรงกายแรงใจพร้อมที่จะทำงาน ผลประกอบการดี ๆ ก็จะตามมาสู่องค์กรแน่นอน
สิ่งเหล่านี้เป็นไอเดียที่ HR อาจนำไปพิจารณาและปรับใช้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการทำให้โรคเบื่อ หรือเกลียดวันจันทร์หายไปจากองค์กร และสร้างแรงผลักดันให้ทุกคนอยากมาทำงานทุกวันได้ในที่สุด”
ที่มา https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/hrd/220617-monday-blues/
รูปภาพ https://www.pexels.com/