Public Cloud คืออะไร?

Cloud Computing ที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงก็คือ Public Cloud โดยถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของบริการ Cloud ที่อยู่ภายใน Virtualised Environment ทั้งยังมีแหล่งทรัพยากรทางกายภาพร่วมกัน โดยสามารถเข้าถึงได้ทาง Public Network เช่น Internet เป็นต้น โดยในบางครั้งอาจเปรียบเทียบได้เลยว่าเป็นขั้วตรงกันข้ามของ Private Cloud ซึ่งมีระบบ Ring-Fencing หรือก็คือแหล่งทรัพยากรคอมพิวเตอร์ สร้าง Cloud Platform แยกออกมาเดี่ยวๆ สำหรับให้เพียงองค์กรใดองค์กรเดียวเท่านั้นมีสิทธิ์เข้าถึง ในขณะที่ Public Cloud เปิดให้ผู้ใช้บริการหลายรายเข้าถึงระบบ Infrastructure เดียวกันได้เลย
ข้อดีหลายๆ อย่างในการใช้งานระบบ Cloud Computing นั้น ส่วนใหญ่ก็มาจากการใช้งาน Public Cloud แทบทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ โดยบริการ Software as a Service (SaaS) อย่าง Cloud Storage และ Office Application อาจเป็นที่คุ้นหูกันมากที่สุด แต่บริการ Infrastructure as a Service (IaaS) และ Platform as a Service (PaaS) ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย รวมไปถึง Based Web Hosting และ Development Environment ก็ถือว่าเป็นอีกข้อดีหนึ่งของ Public Cloud (แม้ว่าบริการเหล่านี้จะมีอยู่ใน Private Cloud เช่นกันก็ตาม)

Public Cloud เหมาะกับใคร?

โดย Public Cloud จะเหมาะสำหรับผู้ใช้งานรายบุคคลที่ไม่ต้องการระบบ Infrastructure และระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูงเทียบเท่ากับ Private Cloud แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้บริการในระดับองค์กรก็ยังสามารถนำ Public Cloud มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้เช่นกัน เช่น ใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นความลับหรือละเอียดอ่อนมากนัก, เสริมการทำงานร่วมกันผ่านทาง Online Document, และการใช้งาน Webmail เป็นต้น

ข้อดีและฟีเจอร์เด่นๆ ของ Public Cloud มีดังนี้

  1. Scale การทำงานได้ดีมาก โดยสามารถดึงทรัพยากรของ Public Cloud มาได้ตามต้องการ ซึ่งนำมาจากแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ที่ Application รันอยู่ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  2. ราคาไม่แพง Public Cloud มีระดับของทรัพยากรและความประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) อยู่ในระดับสูง ระบบปฏิบัติการส่วนกลางและการจัดการทรัพยากรถูกแชร์ร่วมกันผ่านบริการ Cloud ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ จำพวก Server ต่างๆ ก็ไม่ได้ต้องการการตั้งค่าหรืปรับเปลี่ยนอะไรมากนัก รวมไปถึงข้อเสนอทางการตลาดบางอย่างอาจมีการเปิดให้ใช้งานได้ฟรีด้วยซ้ำไป เพื่อแลกกับการโฆษณาเพื่อผลประโยชน์ของตัวผู้ให้บริการเอง
  3. คุ้มราคาค่าบริการ Public Cloud คิดค่าบริการในรูปแบบของการ “จ่ายเท่าที่ใช้งาน” หรือก็คือใช้เท่าไหร่ก็จ่ายแค่เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเจิมให้ยุ่งยาก ทั้งยังให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรได้ตามต้องการ ตลอดเวลาที่ต้องการใช้ และหลังจากนั้นก็จ่ายค่าบริการในส่วนของทรัพยากรที่ใช้ไป เป็นการขจัดปัญหาการเพิ่มระดับความสามารถของระบบ (Capacity) เข้ามามากเกินจำเป็นลงได้
  4. ไม่เคยล้มเหลว Server และ Network จำนวนมากที่อยู่ใน Public Cloud จะมีการตั้งค่าระบบ Redundancy ไว้พร้อม ซึ่งต่อให้ระบบทางกายภาพส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานล้มเหลว บริการ Cloud ก็ยังสามารถใช้งานหรือรันต่อไปบนระบบที่เหลือได้ โดยปราศจากผลกระทบใดๆ ในบางกรณีที่ Cloud ดึงทรัพยากรมาจาก Data Center หลายแห่งจนอาจทำให้ทั้ง Data Center เข้าสู่การ Offline แต่ Cloud Service แต่ละบริการจะยังคงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ในจุดนี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีความล้มเหลวใดๆ ที่จะสามารถหยุดการทำงานของ Public Cloud Service ลงได้นั่นเอง
  5. มีความยืดหยุ่นสูง ในทุกวันนี้มีบริการ IaaS, PaaS, และ SaaS จำนวนมหาศาลซึ่งอยู่ในรูปแบบของ Public Cloud รองรับการเข้าถึงจากทุกอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ ซึ่งบริการเหล่านี้เข้ามาเติมเต็มความต้องการทางระบบ Computing โดยทำประโยชน์ให้กับทั้งลูกค้ารายบุคคลและกลุ่มองค์กรได้เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการรวมบริการ Public Cloud เข้ากับ Private Cloud เฉพาะในส่วนที่มีข้อมูลละเอียดอ่อน ให้เกิดเป็น Hybrid Cloud ก็ยังสามารถทำได้
  6. ใช้ได้ทุกสถานที่ เพราะ Public Cloud ให้บริการผ่านทางการเชื่อมต่อ Internet ไม่ว่าตัวผู้ใช้จะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงบริการได้ สร้างอำนาจให้กับองค์กรในการ Remote Access เข้ามาจัดการระบบ IT Infrastructure ในยามจำเป็น หรือจะทำงานร่วมกันบน Online Ducument จากหลายๆ ที่ก็ยังได้เช่นกัน

สรุป… การจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่ถูกจัดเก็บบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบสาธารณะ หรือ Public Cloud มีความปลอดภัยในการใช้งานในระดับหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแบบสาธารณะไว้ในเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน แต่ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของคนอื่นได้ หากไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนั้นยังมีจุดเด่นตรงที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว มีการใช้งานที่แพร่หลาย ทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น

ที่มา https://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?f=28&t=44723 By Kubarnaza

รูปภาพ
https://www.pexels.com/