Cost & Benefit

“จากในบทความ Management Accounting EP2 เราได้ติดค้างเรื่องของ ต้นทุนและผลตอบแทนอยู่ ฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาดูความหมายและความสำคัญของทั้งสองอย่าง ว่ามีความสำคัญอย่างไรและมีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจอย่างไร “

Costs หรือ”ต้นทุน” คืออะไร?

ในการดำเนินการทำธุรกิจนั้น กิจการจำเป็นจะต้องผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรือสามารถดึงดูดใจลูกค้าให้สามารถเข้ามาซื้อสินค้าและบริการได้ ซึ่งเมื่อผลิตสินค้าและบริการได้แล้วกิจการจะต้องนำเสนอสินค้าและบริการของกิจการเองให้ลูกค้าได้รับทราบหรือรู้จักกันด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา หรือจ้างพนักงานMC มานำเสนอสินค้าของกิจการเอง เมื่อลูกค้ารับทราบสินค้าและบริการของกิจการแล้วหากกิจการนำเสนอสินค้าผ่านโฆษณาดีๆ หรือพนักงานMC มีการนำเสนอสินค้าและบริการที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ ลูกค้าก็จะเข้ามาดูสินค้าและบริการของกิจการ เมื่อลูกค้าถูกใจสินค้าและบริการของกิจการ ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าและบริการของกิจการอย่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้กิจการสามารถพัฒนาตัวเองให้เจริญก้าวหน้าได้ ซึ่งการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้านั้นจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเราเรียกเงินส่วนนี้ว่า “Cost หรือต้นทุน”

Cost หรือต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งค่าใช้จ่ายต้นทุนจะเริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การทำแบบทดสอบ การจัดเก็บ การขนส่ง เมื่อมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการเกิดขึ้น พนักงานบัญชีก็จะบันทึกบัญชีลงในบัญชีทั่วไป และลงบัญชีแยกประเภทลงส่วนของต้นทุน เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นเป็นส่วนที่อยู่ในต้นทุนในการผลิต
เมื่อสินค้าและบริการผลิตเสร็จแล้ว ก็สามารถมาหารายรับเพื่อนำมาหักลบกับต้นทุนได้ เมื่อหักรายรับกับต้นทุนแล้วส่วนต่างที่เหลือคือรายได้ ถ้าหากว่าส่วนต่างที่หักลบกันนั้นติดลบ แสดงว่ากิจการของเรานั้นผลิตสินค้าและบริการออกมาขาดทุน กิจการจะต้องวางแผนหากลยุทธ์วิธีการต่างๆ เพื่อไม่ให้กิจการขาดทุน และสามารถดำเนินการธุรกิจต่อไปได้

Benefit หรือ”ผลตอบแทน” คืออะไร?

Benefit หรือ “ผลตอบแทน” คือสิ่งที่นักลงทุนทุกคนคาดหวังจากการลงทุน กำไรผลประโยชน์ รายได้ ผลตอบแทนในระยะต่างๆ ระหว่างการดำเนินการ เงินปันผลระยะยาว รวมถึงการเติบโตของกิจการ
ซึ่งการที่จะบอกได้ว่าการลงทุนนั้นผลตอบแทนดีหรือไม่ ไม่ใช่มองแค่จำนวนเงินที่ได้ แต่ต้องมองกลับไปด้วยว่าเงินทุนที่ต้องลงทุนใช้เท่าไหร่ด้วย แล้วใช้อัตราผลตอบแทนเป็นตัววัดความสำเร็จที่จะไปสู่เป้าหมาย หากผลตอบแทนที่ทำได้จริงสูงกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จด้านการลงทุนก็มีมากขึ้นและเร็วขึ้นด้วย อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนนั้น สามารถคำนวณได้หลายวิธี ขึ้นกับรูปแบบการลงทุนที่ต่างกัน

จะเห็นได้ว่า เมื่อเรานำตัวเลขของต้นทุนและผลตอบแทน มาเป็นตัววิเคราะห์หรือชี้วัด การดำเนินการของกิจการ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะทำให้รู้ว่าการดำเนินงาน หรือกิจการของเรา สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับกิจการหรือองค์กรหรือไม่

ในการทำหน้าที่ทางการบริหารและการตัดสินใจของผู้บริหารนั้น ข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทำหน้าที่ดังกล่าว ที่ได้มาจากการจดบันทึก (Recording) การจัดหมวดหมู่ (Classifying) การสรุปผล (Summarizing)
การวิเคราะห์ (Analysis) และการตีความ (Interpretation) นั้น
แบ่งเป็นข้อมูลทางการบัญชีตามวิธีการหรือหลักการบัญชี 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลทางการบัญชีที่มาจากวิธีการบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)

ข้อมูลทางบัญชีต้นทุน เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสะสมข้อมูลตามหลักการบัญชีต้นทุนตามลักษณะของธุรกิจ เช่น ธุรกิจผลิตสินค้าตามระบบการผลิตแบบกระบวนการ (Process costing) หรือตามระบบงานสั่งทำ (Job order costing)

2. ข้อมูลทางการบัญชีที่มาจากวิธีการบัญชีทั่วไป (General Accounting)

ข้อมูลทางการบัญชีทั่วไป คือ ข้อมูลทางบัญชีอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลทางบัญชีต้นทุนซึ่งได้มาจากการจดบันทึก จัดหมวดหมู่ และสรุปผลตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าขาย ลูกหนี้ เจ้าหนี้

ในทั้งสองส่วนที่กล่าวมาเราจะสามารถมองเห็นตัวเลขของการลงทุน และได้มองเห็นตัวเลขของรายรับ รายจ่ายที่เกิดขึ้นตลอดของการดำเนินการ เมื่อนำมาประเมินการก็จะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่ากิจการดำเนินการไปนั้นสร้างผลตอบแทนไปในทิศทางบวกหรือลบอย่างไร

เทคนิคการวิเคราะห์ของ ต้นทุน และ ผลประโยชน์

1. Cost Benefit Analysis : CBA อัตราส่วนต้นทุนต่อผลประโยชน์
โดย CBA จะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์

  • เพื่อตรวจสอบว่าการลงทุนมีความเสี่ยงระดับใด/ใช้ประกอบการตัดสินใจการลงทุน/พิจารณาความเป็นไปได้ที่โครงการจะประสบความสำเร็จ
  • เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กับผลตอบแทนที่จะได้รับจากการดำเนินการ


2. Benefit Cost Analysis: BCA
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่คุ้มค่าในการลงทุน BCA เป็นแนวทางที่ใช้ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละทางเลือกที่ตอบสนองต่อธุรกรรม, กิจกรรม หรือความต้องการทางธุรกิจ เป็นเทคนิคที่ใช้ระบุตัวเลือกที่ดีที่สุดเพื่อการยอมรับในทางปฏิบัติในแง่ของประโยชน์ที่ได้รับจากแรงงาน, การประหยัดต้นทุนและเวลาของการดำเนินงาน และเป็นกระบวนการที่เป็นระบบสำหรับการคำนวณและเปรียบเทียบแต่ละโครงการ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ BCA ใช้สำหรับค้นหาต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ที่คิดค่าออกมาเป็นตัวเงินจากการลงทุนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยภาพรวมของการจัดทำแผนนโยบายหรืองบประมาณการลงทุนแล้ว BCA เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโดยภาพรวมที่ช่วยวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจต่อไป

การดำเนินธุรกิจของกิจการจะต้องมีการวางแผนการดําเนินงาน ซึ่งกิจการจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานและบริหารงาน จากนั้นก็ควบคุมการดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และเมื่อการดําเนินงานผ่านไปได้ช่วงหนึ่ง เช่น หนึ่งรอบบัญชี กิจการก็จะทำการวัดผลการดําเนินงานของรอบบัญชีนั้นๆ เพื่อให้ทราบกําไร หรือขาดทุน และฐานะการเงินของกิจการ จากการดําเนินงานดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์อยู่ตลอดระยะเวลา เช่น ในขั้นตอนการวางแผน กิจการจะใช้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนในลักษณะของการวิเคราะห์และวางแผนด้านกําไร (Profit Planning) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกําไร (Cost-Volume-Profit Analysis) นอกจากนี้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนยังถูกใช้ในการวางแผนการดําเนินงาน

(Operating Planning) ด้วยการจัดทำงบประมาณ (Budgeting) ในด้านการควบคุมต้นทุนและการดําเนินงานนั้น ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนจะถูกนำมาใช้ในลักษณะของการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน เช่น เวลาในการผลิต ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ซึ่งจะใช้สำหรับพิจารณาว่ามีต้นทุนใดสูงเกินไปเมื!อเปรียบเทียบกับ
วัตถุประสงค์และแผนงานที่กำหนดไว้ และทำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ ส่วนการใช้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนในการวัดและประเมินผลการดำเนินงานนั้น จะเป็นไปในลักษณะของการจัดทำรายงานเพื่อการวัดผลการดําเนินงาน และการกำหนดราคา

“การประเมินผลประโยชน์และต้นทุนอย่างแม่นยำไม่ใช่เรื่องง่าย การวิเคราะห์ผลประโยชน์ และต้นทุนมีความสำคัญ จึงต้องมีความเข้าใจ รู้จักวิธีการใช้งาน และการรวบรวมข้อมูลอันมีค่าภายใต้ข้อจำกัดให้ได้มากที่สุด ทันท่วงที จึงเป็นสิ่งสำคัญ “

ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก

https://chirapon.wordpress.com/


http://elearning.psru.ac.th/


https://www.pexels.com/