ตั้งรับอย่างไรภายใต้ “ภาวะเงินเฟ้อ…..?”
หลายคนอาจสงสัย!? “ภาวะเงินเฟ้อ น่ากลัวตรงไหน”
ขออธิบายเป็นภาพง่ายๆ คือ ข้าวของมีราคาแพงขึ้น แต่มูลค่าเงิน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน จะรู้สึกว่าเงินจากรายได้เท่าเดิม แต่ของที่ซื้อมากลับลดลง อาจเทียบเคียงง่ายๆ ว่า เมื่อก่อนจ่ายค่าข้าว 1 มื้อประมาณ 50 บาท แต่ปัจจุบันต้องจ่ายแพงขึ้นอีก หรือจ่ายเงินเท่าเดิมแต่ซื่อของได้ปริมาณน้อยลงก็ได้เช่นกัน
มีมนุษย์เงินเดือนจำนวนไม่น้อยที่เรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนหรือขึ้นค่าแรงทุกครั้งเมื่อเกิดภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อ เพราะเมื่อเกิดภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อนั้นทำให้สิ่งของต่างๆ สินค้ารอบตัวนั้นมีราคาแพงขึ้น เราก็ต้องการเงินที่เยอะขึ้นเพื่อที่จะซื้อสิ่งของต่างๆเหล่านั้น และภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อนี้จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ดังนั้น เราควรจะเตรียมตัววางแผนรับมือกับภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อเพื่อที่จะให้เรานั้นได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
รับมืออย่างไรกับภาวะเงินเฟ้อ?
นอกเหนือจากแผนการของรัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือ หรือมีมาตรการต่างๆ ออกมาแล้วนั้น แต่สิ่งสำคัญคือการปรับตัวและเตรียมการรับมือของเราเองที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างหมดจด ผู้มีความพร้อมเท่านั้นจึงจะสามารถลดแรงกระแทกของภาวะทางการเงินได้ เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาเสนอแนะดังนี้
วางแผนการเงินเสมอ ไม่ว่าภาวะเงินจะเป็นอย่างไร การวางแผนทางการเงินที่ดีย่อมทำให้เราอยู่รอดได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในภาวะเงินเฟ้อ เราอาจแบ่งส่วนของเงินนั้นนำไปฝากไว้ในธนาคารส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีแนวโน้มที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ เลือกที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อที่ดึงดูดประชากรต่างๆทั่วไป มาฝากเงินให้มากขึ้นเพื่อที่จะดึงดูดเงินในระบบเศรษฐกิจไม่ให้เยอะเกินไป และไม่ใช่เพียงดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ก็เช่นกันที่จะเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกู้เงินเพื่อนำเงินไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อ ฉะนั้นการเลือกนำเงินเข้าไปฝากไว้ส่วนหนึ่งจึงถือเป็นการลงทุนกับเงินเก็บที่ดีอย่างหนึ่งเช่นกัน
วางแผนการใช้จ่ายเงิน การวางแผนเรื่องการใช้จ่ายเงินหรือการวางแผนเรื่องการประหยัดเงินถือว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างพื้นฐานเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการประหยัดเงินนั้นทำให้เรามีเงินเหลือที่มากขึ้นและเราสามารถเก็บออมเงินส่วนนั้นไว้เพื่อใช้ในการรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจต่างๆได้ เมื่ออยู่ในภาวะเงินเฟ้อ ควรจับจ่ายใช้สอยด้วยความระมัดระวัง สิ่งของฟุ่มเฟือยควรหลีกเลี่ยง พยายามประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆจากทุกส่วน ที่สำคัญอย่าพยายามก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้
สำหรับบางท่านที่อาจเป็นนักลงทุนอาจวางแผนเพิ่มเติมจากแผนการพื้นฐานข้างต้น เช่นการวางแผนกักตุนซื้อข้าวของที่จำเป็นบางอย่าง ก่อนที่จะมีการขึ้นราคาเพราะสินค้าจำเป็นบางอย่างจะไม่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วแต่จะค่อยๆปรับตัวขึ้นจนราคาสูง นักลงทุนบางกลุ่มอาจอาศัยช่องทางนี้ในการทำกำไร เช่นเดียวกันกับที่ สภาวการณ์ขึ้นของราคาทองคำ นักลงทุนอาจนำทองคำที่เก็บสะสมไว้ หรือซื้อทองคำเก็บในช่วงสั้นๆนี้ ก่อนที่จะเทขายในช่วงที่ราคาทองปรับตัวขึ้นเพื่อทำกำไร
.
จะเห็นได้ว่า “เงินเฟ้อ” ถือเป็นเรื่องสำคัญในระดับที่มีนัยต่อความเป็นอยู่ของทุกหน่วยในสังคม เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้องด้วยเหตุทั้งภาวะโรคระบาด Covid-19 และภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้น ทำให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้าและน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น
“อย่าชะล่าใจ เพราะจากสถิติในอดีตที่ผ่านมา เราจะรู้ว่า วิกฤติเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีใครคาดการณ์ได้แม่นยำ 100% ดังนั้นผู้ที่พร้อมที่สุดจะเป็นผู้รอดเสมอ”
ขอบคุณข้อมูลจาก :
รูปภาพจาก :