ความหมายของ องค์กรธุรกิจ และรูปแบบองค์กรธุรกิจ

 

 ความหมาย ของ องค์กรธุรกิจ

องค์กรธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ องค์กรธุรกิจ ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในระบบของกฎหมายที่ควบคุมสัญญาและการแลกเปลี่ยน สิทธิในทรัพย์สิน และการรวมตัวกัน

โดยปกติ  จะอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากสามรูปแบบ: การเป็นเจ้าของส่วนบุคคล ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด (หรือบริษัท) ในรูปแบบแรก คนๆ เดียวถือครองการดำเนินงานทั้งหมดเป็นทรัพย์สินส่วนตัว โดยมักจะจัดการแบบวันต่อวัน ธุรกิจส่วนใหญ่เป็นประเภทนี้ รูปแบบที่สอง ห้างหุ้นส่วน อาจมีสมาชิกตั้งแต่ 2 ถึง 50 คนขึ้นไป เช่น ในกรณีของสำนักงานกฎหมายและบัญชีขนาดใหญ่ บริษัทนายหน้า และตัวแทนโฆษณา รูปแบบธุรกิจนี้เป็นของหุ้นส่วนเอง พวกเขาอาจได้รับส่วนแบ่งกำไรที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการลงทุนหรือผลงานของพวกเขา เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกออกหรือเพิ่มสมาชิกใหม่ บริษัทจะต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นหุ้นส่วนใหม่ รูปแบบที่สาม บริษัทจำกัดความรับผิด หรือองค์กร หมายถึงกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้น นั่นคือ บุคคลจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเป็นนิติบุคคล (หรือ “บุคคล” สมมติ) ที่มีทรัพย์สิน อำนาจ และหนี้สินแยกจากกันสมาชิกบริษัทประเภทนี้ ยังมีกฎหมายแยกออกจากบุคคลที่ทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นหรือพนักงานหรือทั้งสองอย่าง มันสามารถทำสัญญากับพวกเขาทางกฎหมายและฟ้องและถูกฟ้องได้ องค์กรอุตสาหกรรมและการค้าขนาดใหญ่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดความรับผิด

รูปแบบ องค์กรธุรกิจ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์กรต่างๆนั้น จำแนกกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ องค์กรธุรกิจ ที่แสวงหากำไร และ องค์กรธุรกิจ ที่ไม่แสวงหากำไร ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรของภาครัฐ หรือ องค์กรสาธารณะ ดำเนินงาน เพื่อผลประโยชน์สาธารณะชน เช่น มูลนิธิ สมาคม วัด เป็นต้น สำหรับองค์กรธุรกิจนั้น ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อนแสวงหาผลกำไร ซึ่งจะมาก หรือ น้อยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหาร สามารถจัดประเภทได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดตั้ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ลักษณะ

1. แบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้

1.1 ธุรกิจให้บริการ

จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ ตัวอย่างของกิจการประเภทนี้ คือ โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานบังเทิง เป็นต้น

1.2 ธุรกิจจำหน่ายสินค้า

เป็นธรุกิจที่เสนอผลิตภัณฑ์ที่สามารถจับต้องได้ให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ธุรกิจซื้อมาขายไป และ ธุรกิจผลิตสินค้า

1.2.1 ธุรกิจซื้อมาขายไป

เป็นธุรกิจที่จายสินค้าที่ไม่ได้ผลิตเอง แต่จัดหามาจากกิจการอื่น เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น ร้านขายยา เป็นต้น

1.2.2 ธุรกิจผลิตสินค้า

เป็นธุรกิจที่ดำเนินการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งบางกิจการผลิตและส่งให้ผู้อื่นขายด้วยตนเอง เช่น บริษัทในเครือสหพฒนพิบูลย์ เครือซีพี เป็นต้น

2. แบ่งตามลักษณะการจัดตั้ง จะสามารถแบ่งได้ป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

– ลงทุนโดยเจ้าของคนเดียว มีอำนาจสิทธิขาดในการบริหารงาน มีสิทธิในสินทรัพย์ และ ผลกำไรจากกิจการอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำกัดจำนวน

– การกระทำนิติกรรมและการเสียภาษีจะเสียแบบบุคคลธรรมดา นั่นคือ การกระทำนิติกรรมของกิจการจะผูกมัดตัวเจ้าของไม่ใช่ตัวกิจการ

– การเสียภาษีเงินได้จะนำรายได้ของกิจการรวมกับรายได้ส่วนตัวอื่นๆ ของเจ้าของแล้วเสียภาษีในอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะเป็นแบบอัตราก้าวหน้า หรือ เรียกว่า อัตราแบบขั้นบันได

ข้อดี

  • จัดตั้งธุรกิจได้ง่าย
  • มีกฎระเบียบทางกฎหมายน้อย
  • มีต้นทุนต่ำรักษาความลับได้
  • มีอิสระในการตัดสินใจ
  • บริหารงานได้คล่องตัว
  • ได้รับผลประโยชน์คนเดียว

ข้อเสีย

  • เงินทุนกำจัดทำให้ขยายธุรกิจได้ยาก
  • มีความสามารถในการบริหาร และ ตัดสินใจอย่างจำกัด
  • เสียภาษีอัตราแบบขั้นบันได

 

2.2 ห้างหุ้นส่วน

เป็นการร่วมดำเนินกิจการของครตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการกำหนดเงื่อนไขของการบริหารงาน และ แบ่งผลกำไรกันอย่างชัดเจน

ข้อดี

  • จัดตั้งธุรกิจได้ง่าย
  • มีกฎระเบียบทางกฎหมายน้อย
  • มีการบริหารงานอย่างรอบคอบ
  • มีเงินทุนทุนที่มากขึ้น
  • มีการแบ่งความรับผิดชอบ ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

ข้อเสีย

  • การบริหารอาจไม่ค่อยอาจไม่คล่องตัวเหมือนเจ้าของคนเดียว และ เงินลงทุนนั้นอาจยังไม่มากพอในการดำเนินการ
  • โอนเป็นความเข้าของได้ยาก และ มีเหตุผลให้เลิกกิจการได้ง่าย

ห้างหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

หุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินของห้างอย่างไม่จำกัดจำนวน ฐานะเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้านำห้างหุ้นส่วนไปจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งจะมีผลต่อการกระทำนิติกรรมและการเสียภาษีเงินได้ นั้นคือ การทำนิติกรรมจะทำในนามห้างหุ้นส่วนมาใช่ในนามตัวบุคคล และเสียภาษีแบบนิติบุคคล

  1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ประเภทนี้จะรับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดไม่เกิน มูลค่าหุ้นที่ยังไม่ส่งใช้ไม่ครบ แต่จะต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อยหนึ่งคนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างอย่างไม่จำกัดจำนวนซึ่งหุ้นส่วนที่ทำหน้าที่นี้ มักจะได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และ ได้รับผลตอบแทนที่สูง เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยง ห้างจะมีฐานะแป็นนิติบุคคล

 

2.3 บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน

– บริษัทจำกัดต้องมีผู้ร่วมดำเนินการจัดตั้งบริษัทอย่างน้อย 3 คน

– บริษัทมหาจำกัดจะต้องมีอย่างน้อย 15 คน

– มีการกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงาน จำนวน และ มูค่าหุ้นส่วนจดทะเบียนอย่างชัดเจน บางทุนออกเป็นมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นบริษัทมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการสิทธิออกเสียงในที่ประชุม 1 หุ้น ต่อ 1 เสียง

– ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดเพียงจำนวนค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น

ข้อดี

  • สามารถขยายเงินทุนในการขยายธุรกิจได้สะดวก
  • มีโอกาสในการหาผู้บริหารฝีมือดี มาบริหารกิจการได้ง่าย
  • โอนเปลี่ยนความเป็นเจ้าของได้ง่าย มีความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

ข้อเสีย

  • มีข้อกำหนดทางกฎหมายหลายประการ ทั้งด้านการดำเนินการและเปิดเผยข้อมูล ทำให้มีต้นทุนในการจัดทำข้อมูลสูง

ในด้านการจัดทำบัญชีนั้นหากเป็นกิจการที่จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล จะต้องมีการจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2543 แต่สำหรับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ไม่อยู่ในบังคับตามรายบัญญัติดังกล่าว อาจไม่ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องจัดทำรายงายทางการเงินสด รับ-จ่าย จามข้อกำหนดของประมวลรัษฎากร จากหารศึกษางานวิจับพบว่าในปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนยังมีปัญหาด้านการจัดทำบัญชีที่ไม่เป็นระบบจนมาสามารถนำข้อมูลมาใช้ เพื่อ การบริหารจัดการได้ ดังนั้น จึงยังคงมีกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนากเล็กเป็นจำนวนมากต้องการความช่วยเหลือจากนักบัญชี

 

ขอขอบพระคุณ

นิตยา โหราเรือง.  (2564).   รูปแบบองค์กรธุรกิจ.   (พิมพ์ครั้งที่ 4).  กรุเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลินนิ่งสเตชั่น .

เครดิตรูปภาพจาก : www.freepik.com

สามารถทดสอบใช้งานระบบ Cloud Account ฟรี : https://www.cloudaccount.biz/